วิสัยทัศน์-พันธกิจ
การพัฒนาท้องถิ่นของเทศบาลตำบลโพนงามนั้น เป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนของชุมชนในการร่วมคิดร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดจนร่วมสร้างร่วมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นในทุกด้าน การพัฒนาเทศบาลตำบลโพนงาม จะสมบูรณ์ได้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของชุมชน ในพื้นที่เกิดความตระหนักร่วมกันแก้ไขปัญหาและความเข้าใจในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง เทศบาลตำบลโพนงามยังได้เน้นให้คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา นอกจากนั้นยังได้เน้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้การศึกษาเด็กก่อนวัยเรียน และพัฒนาเยาวชนให้พร้อมที่จะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ โดยยึดกรอบแนวทางในการจัดระเบียบการศึกษา ส่วนด้านพัฒนาอาชีพนั้น จะเน้นพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเองในท้องถิ่น
เทศบาลตำบลโพนงาม กำหนดวิธีการดำเนินการตามภารกิจสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาอำเภอ แผนพัฒนาตำบล นโยบายของรัฐบาล และนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้สามารถวิเคราะห์ภารกิจให้ตรงกับสภาพปัญหา โดยสามารถกำหนดแบ่งภารกิจได้เป็น 7 ด้าน ซึ่งภารกิจดังกล่าวถูกกำหนดอยู่ในพระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537( แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับปัจจุบัน ) และตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ดังนี้
วิสัยทัศน์ (Vision)
วิสัยทัศน์การพัฒนา (vision) หมายถึง เพื่อแสดงถานการณ์ในอุดมคติ
“ร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหา ร่วมพัฒนาท้องถิ่น”
พันธกิจ (Mission)
พันธกิจ (Mission) หมายถึง ขอบเขตของบทบาทหน้าที่หลักขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จำเป็นต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ (คือเราต้องทำอะไรถึงจะบรรลุตามวิสัยทัศน์ที่เรากำหนดไว้)
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ความมั่นคง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
- พัฒนาและส่งเสริมระบบเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพของประชาชนให้เข้มแข็ง
- ปลูกฝังเด็กและเยาวชนรวมทั้งประชาชนทั่วไปให้มีความรักสมัครสมานสามัคคีปรองดอง
- ส่งเสริมให้ชุมชนเห็นคุณค่า การอนุรักษ์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
เป้าประสงค์ (goal)
- การคมนาคมของประชาชนมีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
- ก่อสร้างปรับปรุง และขยายเครือข่าย/โครงสร้างสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน แหล่งน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการ
- ส่งเสริมอาชีพและการกระจายรายได้แก่ประชาชน
- สนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์วัฒนธรรม และประเพณีของท้องถิ่น
- ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
- ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น
- พัฒนาขีดความสามารถ และประสิทธิภาพในการบริหารงานของท้องถิ่นให้สนองตอบปัญหาความต้องการของประชาชน